ธรรมะออนไลน์

May 28, 2017

การเห็นสมณะ

การเห็นสมณะ คำว่า สมณะ แปลว่า ผู้สงบ มีคุณสมบัติ 3 อย่าง คือ สงบกาย สำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยามารยาทตามหลักศีลธรรม สงบวาจา พูดจาให้สุภาพ มีความสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ สงบใจ ทำใจให้สงบ ปราศจากกิเลสครอบงำ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา การได้เห็นสมณะ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เห็นด้วยตา เห็นจากการสัมผัสด้วยสายตาของตนเองแล้วมีความประทับใจ […]
May 28, 2017

ฟังธรรมตามกาล

ฟังธรรมตามกาล เมื่อโอกาสฟังธรรมมาถึง หรือในวันสำคัญทางศาสนา ต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อจะได้รับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เวลาที่ควรไปฟังธรรม เช่น วันธัมมัสสวนะเป็นวันพระ หรือวันสำคัญทางศาสนา หรือการอ่านหนังสือธรรม เมื่อมีโอกาสอันสมควร เช่น ในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานวัดที่จัดให้มีการฟังธรรม คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี คือ ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้ มีความตั้งใจในการฟังธรรม และนำไปพิจารณา […]
May 28, 2017

กตัญญูรู้คุณ

กตัญญูรู้คุณ คนดี ย่อมเป็นที่ยกย่องนับถือของคนทั่วไป เพราะอำนาจของความกตัญญู กตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น บุคคลที่มีคุณและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก เลี้ยงดู ป้องกันและรักษา พ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่จริงๆ เมื่อให้กำเนิดลูกแล้วจะไม่ทอดทิ้ง ถึงแม้จะประสบความลำบากยากจน ลำเค็ญสักเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่ทอดทิ้งลูก กลับคอยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดแก่ลูก เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ เช่น […]
May 28, 2017

เป็นพหูสูต

เป็นพหูสูต พหูสูต คือ ผู้ที่ได้ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ มีความชำนาญ ลักษณะของผู้เป็นพหูสูต คือการรู้ในสิ่งนั้น เรื่องนั้น อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุมอย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่ามีความชำนาญ รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อม รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กัน รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคต เป็นต้น คุณสมบัติของผู้เป็นพหูสูต ตั้งใจฟัง คือชอบฟัง […]
May 28, 2017

ได้สั่งสมบุญมาก่อน

ได้สั่งสมบุญมาก่อน บุญเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขกายสุขใจ สามารถติดตามไปได้ทุกสถานที่ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า เป็นของเฉพาะตนใครจะแย่งชิงเอาไปไม่ได้ ต้องทำเอาเอง เป็นที่หลั่งไหลมาแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย เพราะผลของบุญจะบันดาลให้ได้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ แก่ผู้มีบุญทั้งหลาย บุญเป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสงสาร ในขณะที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่นั้น บุญจะคอยช่วยคุ้มครองให้เกิดในสถานที่ดี มีความสุขความเจริญในชีวิต แม้ในการประพฤติปฏิบัติธรรมก็ไม่มีความลำบาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญมาจะมากหรือน้อยนั่นเอง การทำความดีทุกอย่างล้วนมีผลออกมาเป็นบุญทั้งสิ้น มีแต่ผลของบุญเท่านั้นที่ต่างกันออกไป แล้วแต่ประเภทของบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีทำบุญไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี 10 ประการ […]