ประวัติ
ตราสัญลักษณ์ประจำวัดเทวราชกุญชร
สัปตปฎลเศวตฉัตร พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระราชวงศ์จักรีทรงพระราทานนาม พระอินทร์ทรงถือวชิรวุธเป็นอาวุธประจำพระองค์ ช้างเอราวัณเทพบุตร จำแลงเป็นช้าง 33 กระพอง ให้พระอินทร์และเทพสหจรประทับ ช้างพระอินทร์ เป็นช้างจำแลงของเทพบุตร นามว่าเอราวัณ เอราวัณเทพบุตรจะกลายร่างเป็นช้าง ก็ต่อเมื่อพระอินทร์และเทพสหจรประสงค์จะเสด็จออกจากเทพวิมานสู่เทพอุทยานเท่านั้น หมายความว่า จะปรากฎเป็นคชาชาติที่มีอานุภาพน่าอัศจรรย์เพราะเดชแห่งบุญของท่านผู้มีบุญเท่านั้น กรมศิลปากรเขียนแบบพระอินทร์ประทับบนช้างเอราวัณเป็นสัญลักษณ์วัดเทวราชกุญชร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2544
หนังสือวัดเทวราชกุญชร 2560
ภายในมีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติ รายะเอียด และสถานที่สำคัญต่างๆภายในวัด
รัชสมัยรัชกาลที่ 1 - แรกสถาปนาพระอาราม
วัดเทวราชกุญชร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสมอแครง” เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก บ้างก็สันนิษฐานว่า “สมอ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ถมอ” (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่า “หิน” วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า “ถมอแครง” ซึ่งแปลว่า “หินแกร่ง”
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ต่อมา สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสของสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของรัชกาลที่ 1 (ต้นสกุลมนตรีกุล) ทรงบูรณะต่อ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 (ต้นราชสกุลกุญชร) ทรงอุปถัมภ์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระโอรสทรงอุปถัมภ์ต่อ หลังจากนั้นเจ้านายผู้สืบสกุลกุญชรให้ความอุปถัมภ์โดยลำดับ
รัชสมัยรัชกาลที่ 4 - พระราชทานนามพระอาราม "วัดเทวราชกุญชร"
ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า “วัดเทวราชกุญชร” โดยคำว่า “เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งแปลว่า “ช้าง” รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์” ปัจจุบันกรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ
รัชสมัยรัชกาลที่ 9 - พระราชทานนาม "พระพุทธเทวราชปฏิมากร"
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ จำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2546
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมสายสังวาลถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร พระราชทานเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และอัญเชิญสายสังวาลคล้องถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2555 - สืบสานพระราชปณิธานการบูรณปฏิสังขรณ์
พ.ศ. 2555 คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนและดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 พระอุโบสถจึงหวนคืนสู่ความสง่างามเคียงคู่พระอารามแห่งนี้
สถานที่สำคัญภายในวัด
กว้าง 24 เมตร ยาว 43.50 เมตร เป็นอาคารแบบประเพณีนิยม ก่ออิฐถือปูน ลักษณะพระอุโบสถมีขนาดสูงใหญ่ มีเสาพาไลรองรับ ชายคาเสาเป็น
แท่งสี่เหลี่ยม ไขราเป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นงานไม้ประดับกระจกสีลายดอกพุดตาน ซุ้มประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยงานปูนเป็นซุ้ม
เรือนแก้ว หลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มีกำแพงแก้ว รอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์ทั้งสี่มุม
พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผนังตอนล่างระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพพระภิกษุปลงอสภุกรรมฐาน 10 หรือพิจารณาซากศพ ภาพ
“เสือกัดพระ” สื่อถึงการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สันนิษฐานว่าอาจวาดมาจากเนื้อหาตอนหนึ่งของคัมภีร์สมุังคลวิลาสินี ทุติยภาค ที่กล่าวถึง
เสือตัวหนึ่งได้จับพระภิกษุที่จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าไปกินที่ละองค์ จนถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่ถูกเสือกัดกินตั้งแต่นิ้วเท้าไปจนถึงหัวใจ โดยท่าน
ข่มเวทนาแล้วเจริญวิปัสสนาจนบรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ผนังด้านหน้าเป็นภาพทศชาติชาดกเล่าเรื่องสุวรรณสาม บานหน้าต่าง
ด้านในพระอุโบสถเขียนลายเป็นงานจิตรกรรมเครื่องตั้งของจีน ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 3
ขนาดหน้าตักกว้าง 4.35 เมตร สูงตั้งแต่พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี 5.65 เมตร
พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่ากรุงศรีอยุธยาพบ
พระทององค์ใหญ่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพระพิทักษเทเวศร์ ไปอัญเชิญลงมายังพระนครโดยทางน้ำ
ครั้นถึงปากคลองเทเวศร์ แพที่อัญเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นที่วัดสมอแครง
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยที่มาของพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ว่า พระพักตร์เป็นลักษณะแบบพระสมัยทวารวดี
แต่องค์พระเป็นแบบรัตนโกสินทร์ จึงทรงสืบตามจนได้ความว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ทรงอัญเชิญมาจากเมืองลพบุรีเข้าใจว่าคงได้
แต่พระเศียรแล้วมาหล่อส่วนองค์พระขึ้นใหม่ในกรุงเทพฯ เมื่อภายหลังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพบว่าเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง
วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า "พระพุทธเทวราชปฏิมากร" ต่อมาใน
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร และทรงอัญเชิญสายสังวาลคล้องถวายเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ศาลารายเภาลีนา ตั้งอยู่ด้านขวาพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางสมาธิ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม
สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
อยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทาน
แก่วัดเทวราชกุญชร
ที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ รอยพระพุทธบาทไม้
ประดับมุกเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา
เปิดเวลา 9.00 - 17.00 น.
มีอายุประมาณ 479 ปี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลป
วัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา พ.ศ. 2550 ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จ
พระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา
www.goldenteakmuseum.com
เปิดเวลา 10.00 - 17.00 น.
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2555
โอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรัตนโกสินทร์มหาวชิราลงกรณ ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว
มาประดิษฐานประจำพระแท่นบุษบกภายในอาคารหลังนี้
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พ.ศ. 2554 และเป็นอาคารสำหรับพระภิกษุสามเณร
ใช้ในการประกอบศาสนกิจและศึกษาเล่าเรียน
ที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ รอยพระพุทธบาทไม้
ประดับมุกเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา
เปิดเวลา 9.00 - 17.00 น.