วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

วัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านเทเวศร์

วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

วัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านเทเวศร์

ประวัติ

ตราสัญลักษณ์ประจำวัดเทวราชกุญชร

สัปตปฎลเศวตฉัตร พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระราชวงศ์จักรีทรงพระราทานนาม พระอินทร์ทรงถือวชิรวุธเป็นอาวุธประจำพระองค์ ช้างเอราวัณเทพบุตร จำแลงเป็นช้าง 33 กระพอง ให้พระอินทร์และเทพสหจรประทับ ช้างพระอินทร์ เป็นช้างจำแลงของเทพบุตร นามว่าเอราวัณ เอราวัณเทพบุตรจะกลายร่างเป็นช้าง ก็ต่อเมื่อพระอินทร์และเทพสหจรประสงค์จะเสด็จออกจากเทพวิมานสู่เทพอุทยานเท่านั้น หมายความว่า จะปรากฎเป็นคชาชาติที่มีอานุภาพน่าอัศจรรย์เพราะเดชแห่งบุญของท่านผู้มีบุญเท่านั้น กรมศิลปากรเขียนแบบพระอินทร์ประทับบนช้างเอราวัณเป็นสัญลักษณ์วัดเทวราชกุญชร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2544

Badge Text

หนังสือวัดเทวราชกุญชร 2560

ภายในมีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติ รายะเอียด และสถานที่สำคัญต่างๆภายในวัด

ดาวโหลดหนังสือ

รัชสมัยรัชกาลที่ 1 - แรกสถาปนาพระอาราม

วัดเทวราชกุญชร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสมอแครง” เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก บ้างก็สันนิษฐานว่า “สมอ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ถมอ” (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่า “หิน” วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า “ถมอแครง” ซึ่งแปลว่า “หินแกร่ง”

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ต่อมา สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสของสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของรัชกาลที่ 1 (ต้นสกุลมนตรีกุล) ทรงบูรณะต่อ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 (ต้นราชสกุลกุญชร) ทรงอุปถัมภ์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระโอรสทรงอุปถัมภ์ต่อ หลังจากนั้นเจ้านายผู้สืบสกุลกุญชรให้ความอุปถัมภ์โดยลำดับ

รัชสมัยรัชกาลที่ 4 - พระราชทานนามพระอาราม "วัดเทวราชกุญชร"

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า “วัดเทวราชกุญชร” โดยคำว่า “เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งแปลว่า “ช้าง” รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์” ปัจจุบันกรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ

รัชสมัยรัชกาลที่ 9 - พระราชทานนาม "พระพุทธเทวราชปฏิมากร"

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ จำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2546

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมสายสังวาลถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร พระราชทานเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และอัญเชิญสายสังวาลคล้องถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พ.ศ. 2555 - สืบสานพระราชปณิธานการบูรณปฏิสังขรณ์

พ.ศ. 2555 คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนและดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 พระอุโบสถจึงหวนคืนสู่ความสง่างามเคียงคู่พระอารามแห่งนี้

สถานที่สำคัญภายในวัด

1.พระอุโบสถสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ มีขนาดกว้าง 17 เมตร ยาว 36 เมตร มีเขตพัทธสีมา
กว้าง 24 เมตร ยาว 43.50 เมตร เป็นอาคารแบบประเพณีนิยม ก่ออิฐถือปูน ลักษณะพระอุโบสถมีขนาดสูงใหญ่ มีเสาพาไลรองรับ ชายคาเสาเป็น
แท่งสี่เหลี่ยม ไขราเป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นงานไม้ประดับกระจกสีลายดอกพุดตาน ซุ้มประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยงานปูนเป็นซุ้ม
เรือนแก้ว หลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มีกำแพงแก้ว รอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์ทั้งสี่มุม
2. ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถผนังด้านข้างทั้งสองด้านเหนือช่องหน้าต่างตอนบนเขียนภาพแสดงเหตุการณ์ตอนเทพยดาชุมนุมกันขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรด
พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผนังตอนล่างระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพพระภิกษุปลงอสภุกรรมฐาน 10 หรือพิจารณาซากศพ ภาพ
“เสือกัดพระ” สื่อถึงการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สันนิษฐานว่าอาจวาดมาจากเนื้อหาตอนหนึ่งของคัมภีร์สมุังคลวิลาสินี ทุติยภาค ที่กล่าวถึง
เสือตัวหนึ่งได้จับพระภิกษุที่จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าไปกินที่ละองค์ จนถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่ถูกเสือกัดกินตั้งแต่นิ้วเท้าไปจนถึงหัวใจ โดยท่าน
ข่มเวทนาแล้วเจริญวิปัสสนาจนบรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ผนังด้านหน้าเป็นภาพทศชาติชาดกเล่าเรื่องสุวรรณสาม บานหน้าต่าง
ด้านในพระอุโบสถเขียนลายเป็นงานจิตรกรรมเครื่องตั้งของจีน ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 3
3. พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี ประดิษฐานบนฐานชุกชี
ขนาดหน้าตักกว้าง 4.35 เมตร สูงตั้งแต่พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี 5.65 เมตร

พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่ากรุงศรีอยุธยาพบ
พระทององค์ใหญ่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพระพิทักษเทเวศร์ ไปอัญเชิญลงมายังพระนครโดยทางน้ำ
ครั้นถึงปากคลองเทเวศร์ แพที่อัญเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพ จึงโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นที่วัดสมอแครง

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยที่มาของพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ว่า พระพักตร์เป็นลักษณะแบบพระสมัยทวารวดี
แต่องค์พระเป็นแบบรัตนโกสินทร์ จึงทรงสืบตามจนได้ความว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ ทรงอัญเชิญมาจากเมืองลพบุรีเข้าใจว่าคงได้
แต่พระเศียรแล้วมาหล่อส่วนองค์พระขึ้นใหม่ในกรุงเทพฯ เมื่อภายหลังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพบว่าเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง
วัดมหาธาตุเมืองลพบุรี

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า "พระพุทธเทวราชปฏิมากร" ต่อมาใน
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร และทรงอัญเชิญสายสังวาลคล้องถวายเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
4. ศาลารายศาลารายสุชาดา ตั้งอยู่ด้านซ้ายพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางไสยาสน์ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม
สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ศาลารายเภาลีนา ตั้งอยู่ด้านขวาพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางสมาธิ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม
สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
5. พระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ทำด้วยทองเหลืองลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สูง 43 นิ้ว จำนวน 9 องค์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทาน
แก่วัดเทวราชกุญชร
6.พระมณฑปจัตุรมุขสร้างครอบพระอุโบสถเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีขนาดกว้าง 12.40 เมตรยาว 12.40 เมตร ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ รอยพระพุทธบาทไม้
ประดับมุกเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา
เปิดเวลา 9.00 - 17.00 น.
7. หอพระรัตนตรัยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร
8. พิพิธภัณฑ์สักทองอาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ใช้เสาไม้สักทองทั้งหลัง ขนาดเสา 2 คนโอบ
มีอายุประมาณ 479 ปี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลป
วัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา พ.ศ. 2550 ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จ
พระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา
www.goldenteakmuseum.com
เปิดเวลา 10.00 - 17.00 น.
9. อาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ มวก.เป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2555
10. อาคารเทวราชธรรมศาลาเป็นอาคารทรงไทยตรีมุข 2 ชั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรัตนโกสินทร์มหาวชิราลงกรณ ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว
มาประดิษฐานประจำพระแท่นบุษบกภายในอาคารหลังนี้
11. อาคารเทวราชธรรมสถิตเป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 3 ชั้น ขนาดกว้าง 9.50 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พ.ศ. 2554 และเป็นอาคารสำหรับพระภิกษุสามเณร
ใช้ในการประกอบศาสนกิจและศึกษาเล่าเรียน
12. อาคารเทวราชกุญชรเป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น มีอายุกว่า 100 ปี ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์
13. อาคารเทวราชธรรมสภาเป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ มีอายุกว่า 100 ปี ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์
14. อาคารเทวราชธรรมาภิรมย์เป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น ใช้สำหรับเป็นที่พักของพระภิกษุสามเณร
6.พระมณฑปจัตุรมุขสร้างครอบพระอุโบสถเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีขนาดกว้าง 12.40 เมตรยาว 12.40 เมตร ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ รอยพระพุทธบาทไม้
ประดับมุกเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา
เปิดเวลา 9.00 - 17.00 น.
15. อาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธเป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 4 ชั้น ใช้สำหรับเป็นที่พักของพระภิกษุสามเณร
16. ศาลาท่าน้ำสำหรับปล่อยปลา เลี้ยงปลา สร้างทานบารมี