พระธรรมวชิราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร
- ประวัติ
- ผลงาน
- อดีตเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน
นามเดิม
พระมหาโสภณ ฉายา โสภณจิตฺโต นามสกุล พุ่มพวง
เกิด
5 เมษายน 2506 ณ บ้านกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
บรรพชา
ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
อุปสมบท
ที่วัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร
การศึกษา
จบเปรียญธรรม 9 ประโยค
จบปริญญาโท (ศศ.ม.)
สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคมมหาวิทยาลัยเกริก
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (13 พฤษภาคม 2555)
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (27 พฤศจิกายน 2555)
ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (25 พฤษภาคม 2557)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2 สิงหาคม 2557)
ตำแหน่งปัจจุบัน
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร (5 มิถุนายน 2544)
พระอุปัชฌาย์วิสามัญ (5 เมษายน 2549)
เจ้าคณะภาค 13 (9 พฤษภาคม 2564)
ที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (30 พฤศจิกายน 2564)
กรรมการมหาเถรสมาคม (10 ธันวาคม 2564)
ผู้ช่วยแม่กองบาลีสนามหลวง (1 ตุลาคม 2565)
ตำแหน่งในอดีต
- เจ้าคณะเขตดุสิต (29 มิถุนายน 2547)
- รองเจ้าคณะภาค 13 (25 ตุลาคม 2549) สมัยที่ 1
- รองเจ้าคณะภาค 13 (13 ตุลาคม 2553) สมัยที่ 2
- รองเจ้าคณะภาค 14 (23 ธันวาคม 2557)
สมณศักดิ์
พระราชาคณะชั้นสามัญ ราชทินนามว่า พระศรีวชิรโมลี (5 ธันวาคม 2541)
พระราชาคณะชั้นราช ราชทินนามว่า พระราชสุธี (5 ธันวาคม 2546)
พระราชาคณะชั้นเทพ ราชทินนามว่า พระเทพคุณาภรณ์ (5 ธันวาคม 2551)
- พระราชาคณะชั้นธรรม ราชทินนามว่า พระธรรมวชิราภรณ์ (13 พฤศจิกายน 2565)
งานพิเศษ
เป็นกรรมการและเลขานุการพิจารณาตรวจต้นฉบับและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี
จัดทำโครงการผลิตสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธันวาคม 2553
จัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติชุด “พ่อหลวงกับพระพุทธศาสนา” ถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 84 พรรษา ปีพ.ศ. 2554
พระธรรมวชิราภรณ์ เป็นพระนักเผยแผ่ ได้แสดงธรรมตามวาระสำคัญต่างๆ และมุ่งมั่นในการพัฒนาวัดให้งดงามสมกับเป็นพระอารามหลวง ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาพระอาราม อาทิ พระอุโบสถ พระเจดีย์ ศาลาราย กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ มณฑปจัตุรมุข ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม กุฏิสงฆ์ทรงปั้นหยา กุฏิสงฆ์ทรงตรีมุข จนแล้วเสร็จตามโครงการบูรณะพระอารามเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ปีพ.ศ. 2547
ทั้งยังได้สร้างอาคารสงฆ์เทวราชธรรมาภิรมย์ 2 ชั้น อาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ 4 ชั้น พิพิธภัณฑ์สักทองวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร อาคารสงฆ์เทวราชธรรมสถิต 3 ชั้น ตลอดจนบูรณะพระเจดีย์ทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างศาลาบุญบารมี ศาลาทานบารมี และโป๊ะท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลานโพธิ์ ลานธรรม และอาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ มวก.
ลำดับเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เจ้าอาวาสที่ครองวัดนี้เท่าที่สามารถหาหลักฐานได้มีดังต่อไปนี้
พระปลัดมุก
พระธรรมุเทศาจารย์ (ฉิม)
พระครูธรรมุเทศาจารย์ (ยิ้ม)
พระประสิทธิสุตคุณ (แดง)
พระมหาทิม
พระสรภาณกวี (ชื่น)
พระเทพสิทธินายก (เลียบ ปุณฺณสิริ) พ.ศ. 2457 - 2472
พระอริยมุนี (หว่าง ธมฺมโชโต) พ.ศ. 2472 – 2501
พระอริยมุนี (ศรี ฐิตพโล ป.ธ. 8) พ.ศ. 2501 - 2540
พระมหาสมบัติ สุวโจ ป.ธ. 8 รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. 2540 – 2544